วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่แสดงความเป็นชาติให้ปรากฏชัดเจนขึ้น
ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นทำให้คนไทย แตกต่างจากชาติอื่น ๆ
มีเอกลักษณ์ประจำชาติที่เห็นได้จากภาษาที่ใช้ อุปนิสัยใจคอ
ความรู้สึกนึกคิดตลอดจนการ แสดงออกที่นุ่มนวล
อันมีผลมาจากสังคมไทยที่เป็นสังคมแบบประเพณีนำ และเป็นสังคมเกษตรกรรม เนื่องจาก
ประชากรส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในชนบท สภาพของสิ่งแวดล้อมที่ดี
กล่อมเกลาจิตใจมีความโอบอ้อมอารี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ
เกื้อกูลซึ่งกันและกันตลอดมา |
|
|
|
หากแบ่งวัฒนธรรมด้วยมิติทางการท่องเที่ยวแล้ว จะสามารถแบ่งออกได้เป็น
2 ประเภทได้แก่
| |
| |
วัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม หมายถึงสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ
ไม่สามารถมองเห็น หรือจับต้องได้ เป็นการแสดงออกในด้าน ความคิด ประเพณี
ขนบธรรมเนียม แบบแผนของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา
เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มของ ตนว่าเป็นสิ่งที่ดีงามเหมาะสม เช่น ศาสนา ความเชื่อ
ความสนใจ ทัศนคติ ความรู้ และความสามารถ วัฒนธรรม
ประเภทนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ขึ้นได้
และในบางกรณีอาจพัฒนาจนถึงขั้นเป็น อารยธรรม (Civilization) ก็ได้ เช่น
การสร้างศาสนสถานในสมัยก่อน เมื่อเวลาผ่านไปจึงกลายเป็นโบราณสถาน
ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ |
|
|
|
หากพิจารณาความหมาย และลักษณะของวัฒนธรรมที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว
ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทที่ 2 เป็นผลผลิตของวัฒนธรรมที่มีตัวตน
เป็นรูปธรรมเห็นได้ชัดเจน ส่วนประเภทที่ 3 มีสภาพแรกเริ่มมาจากแนวความคิด
ความเชื่อและวิถีชีวิต ซึ่งเป็นนามธรรม
แต่ได้มีการพัฒนาจนมีลักษณะทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปแบบขึ้นมา ทำให้นัก
ท่องเที่ยวสามารถสัมผัสทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทนี้ได้โดยตรง |
|
|
|
จึงเห็นได้ชัดเจนว่า วัฒนธรรมที่เป็นแนวความคิด ความเชื่อ
เป็นนามธรรมล้วน ๆ แต่เพียงอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็น ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว
วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถพัฒนาให้เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวได้
ตัวอย่างวัฒนธรรมที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการท่องเที่ยว ได้แก่
แหล่งท่องเที่ยวประเภทโบราณสถาน อุทยาน ประวัติศาสตร์ ศาสนสถาน โบราณวัตถุ
งานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ การละเล่นพื้นบ้าน เทศกาลและงาน ประเพณี
งานศิลปหัตถกรรมที่พัฒนามาเป็นสินค้าประจำท้องถิ่น ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่
และอัธยาศัยไมตรีของ คนไทย
ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย
เป็นเสมือนตัวเสริมการท่องเที่ยวให้มีความ สมบูรณ์
เป็นจุดเด่นหรือจุดขายของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ
เพิ่มความประทับใจให้นักท่องเที่ยวได้มากขึ้น ถึงแม้ว่า
ประเทศไทยจะมีทรัพยากรประเภทศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย
แต่ก็มีการผสมผสานสอดคล้องเป็นวัฒนธรรมไทย ได้อย่างกลมกลืน |
|
|
|
แหล่งท่องเที่ยวประเภทโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์
แม้กระทั่งศาสนสถาน หรือโบราณวัตถุและ สถาปัตยกรรมต่าง ๆ
แสดงอดีตความเป็นมาของชาติไทย ที่มีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ซึ่งมี อายุ 3-4 พันปีมาแล้ว
โดยมีหลักฐานเป็นแหล่งโบราณคดีกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ต่อมาในยุคสมัยประวัติ
ศาสตร์ อาณาจักรของชนชาติไทยก็รวมกลุ่มเป็นปึกแผ่นมั่นคงยิ่งขึ้นตั้งแต่สมัยทวารวดี
เชียงแสน สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ เป็นลำดับ ระยะเวลาอันยาวนานนี้
ทำให้มีการสั่งสมความเจริญทางวัฒนธรรมแต่ละยุคแต่ละสมัย ต่อเนื่องกันมาโดยตลอด |
|
|
|
แหล่งศิลปกรรมที่มีคุณค่ายิ่งเหล่านี้
นอกจากจะมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของ
ประเทศอีกด้วย บางแห่งถือเป็นแหล่งอารยธรรมระยะแรก ๆ ที่ปรากฏขึ้นในโลก
มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของนัก โบราณคดี ได้แก่ แหล่งชุมชนโบราณที่บ้านเชียง
จ.อุดรธานี เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะกลุ่ม
นักท่องเที่ยวที่มีความสนใจพิเศษ (Special Interest Group) |
|
ในภูมิภาคเดียวกับแหล่งชุมชนโบราณบ้านเชียง
ยังมีแหล่งท่องเที่ยวในรูปของสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ เป็น
ปราสาทที่ก่อสร้างด้วยอิฐหรือหิน มีอาณาเขตกว้างขวาง
การจัดองค์ประกอบรูปทรงเป็นระเบียบ มีการกำหนดรูป แบบทางภูมิสถาปัตย์ที่สวยงาม
ตลอดจนการจำหลักลายที่ประณีตละเอียดอ่อน ปราสาทที่สำคัญ ได้แก่ ปราสาทหิน พิมาย
จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้ง และปราสาทหินเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ |
|
|
|
ส่วนพื้นที่ภาคเหนือ มีปราสาทที่สำคัญ ได้แก่
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชฌนาลัย จ.สุโขทัย และอุทยาน ประวัติศาสตร์
จ.กำแพงเพชร ภาคใต้มีหลักฐานของชุมชนโบราณที่ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิด
อารยธรรมอันเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของโลก |
|
|
|
ความหมายของประเพณี |
|
|
|
- ประเพณี มีความหมายรวมถึง แบบความเชื่อ ความคิด การกระทำ ค่านิยม ทัศนคติ
ศีลธรรม จารีต ระเบียบ แบบแผน และวิธีการกระทำสิ่งต่าง ๆ
ตลอดจนถึงการประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ ที่กระทำกันมาแต่ใน อดีต
ลักษณะสำคัญของประเพณี คือ
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติเชื่อถือมานานจนกลายเป็นแบบอย่างความคิด หรือการ
กระทำที่สืบต่อกันมา และยังมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน
- ประเพณีเกิดจากความเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศ
และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุต่าง ๆ ฉะนั้น ประเพณี คือ
ความประพฤติของคนส่วนรวมที่ถือกันเป็นธรรมเนียม หรือ เป็นระเบียบแบบแผน
และสืบต่อกันมาจนเป็นพิมพ์เดียวกัน
และยังคงอยู่ได้ก็เพราะมีสิ่งใหม่เข้ามาช่วยเสริม สร้างสิ่งเก่าอยู่เสมอ
และกลมกลืนเข้ากันได้ดี
- ประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติที่เห็นว่าดีกว่า ถูกต้องกว่า
หรือเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ใน สังคมและมีการปฏิบัติสืบต่อกันมา
.ประเพณี คือ ความประพฤติที่สืบต่อกันมาจนเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในหมู่คณะ
เป็นนิสัยสังคม ซึ่ง เกิดขึ้นจากการที่ต้องเอาอย่างบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตน
หากจะกล่าวถึงประเพณีไทยก็หมายถึง นิสัยสังคม
ของคนไทยซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาแต่ดั้งเดิมและมองเห็นได้ในทุกภาคของไทย
- ประเพณี เป็นเรื่องของความประพฤติของกลุ่มชน ยึดถือเป็นแบบแผนสืบต่อกันมานาน
ถ้าใครประพฤตินอก แบบ ถือเป็นการผิดประเพณี
เป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติอีกอย่างหนึ่ง โดยเนื้อหาสาระแล้ว ประเพณี
กับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กลุ่มชนในสังคมร่วมกันสร้างขึ้น
แต่ประเพณีเป็นวัฒนธรรมที่มีเงื่อนไขที่ค่อนข้าง ชัดเจน
กล่าวคือเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นเป็นมรดก คนรุ่นหลังจะต้องรับไว้
และปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป รวมทั้งมีการเผยแพร่แก่คนในสังคมอื่น ๆ ด้วย
|
|
ชนิดของประเพณี | |
|
|
ประเพณีแบ่งตามลักษณะของความเข้มงวดในการที่จะต้องปฏิบัติตาม เป็น 3
แบบด้วยกัน คือ |
|
|
|
- จารีตประเพณี หรือ กฎศีลธรรม (Mores) คือ
ประเพณีที่สังคมถือว่าถ้าใครฝ่าฝืนงดเว้นไม่ กระทำตามถือ ว่าเป็นความผิด
จารีตประเพณีเกี่ยวข้องกับศีลธรรมของคนส่วนรวมในสังคมไทย เช่น การแสดงความ
กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เป็นต้น
จารีตประเพณี
หรือกฎศีลธรรมของแต่ละแห่งย่อมไม่เหมือนกัน เพราะมีค่านิยม (Value) ที่ยึดถือต่าง
กัน ดังนั้น
ถ้าบุคคลใดนำจารีตประเพณีของตนไปเปรียบเทียบกับของคนอื่นว่าดีหรือเลวกว่าตนก็เป็นการ
เปรียบเทียบที่ไม่ถูกต้อง เพราะสภาพหรือสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเชื่อต่าง ๆ
ย่อมต่างกันไป เช่น เรา เคารพผู้ที่อาวุโสกว่า แต่ชาวอเมริกันรักความเท่าเทียมกัน
- ขนบประเพณี (Institution) บางครั้งเรียกว่าระเบียบประเพณี
หมายถึงประเพณีที่สังคมกำหนด ระเบียบ แบบแผนไว้อย่างชัดว่า
ควรจะประพฤติปฏิบัติเป็นขั้นตอนอย่างไร เช่น ประเพณีแต่งงานต้องเริ่มตั้งแต่การ
หมั้น การแต่ง ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะมีพิธีมากมายสำหรับคู่บ่าวสาวต้องปฏิบัติตาม
หรือพิธีศพ ซึ่งจะต้องเริ่ม ตั้งแต่มีการรดน้ำศพ แต่งตัวศพ สวดศพ เผาศพ เป็นลำดับ
- ธรรมเนียมประเพณี (Convention) หมายถึง
ประเพณีที่ปฏิบัติกันอยู่ในชีวิตประจำวัน หากมี การฝ่าฝืนก็ ไม่ถือเป็นเรื่องผิด
นอกจากจะเห็นว่าเป็นผู้เสียมารยาทเท่านั้น ไม่มีระเบียบแบบแผนเหมือนขนบประเพณี
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น